วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การคิดเชิงระบบด้วยเครื่องมือที่ 11 การเขียน CLD


การคิดเชิงระบบด้วยเครื่องมือที่ 11 การเขียน CLD

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (CAUSAL LOOP DIAGRAM : CLD)


แผนภูมิวงรอบเหตุและผล CLD จะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบดังนี้
  1. วงรอบการป้อนกลับ 1 วงรอบ หรือ มากกว่า ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเสริมแรงและกระบวนการสร้างความสมดุล
  2. ความสัมพันธ์ของเหตุและผลกระทบระหว่างตัวแปรต่างๆ
  3. ความหน่วงของเวลา(Delays)คือ มีปัญหา(input)เข้ามา
การวาดปัญหาออกมาเป็นแผนภูมิ จะทำให้มองออกว่า อะไร Must know อะไร Should know
S = Same หรือ + (Positive)
O = Opposite หรือ – (Negative)
R = Reinforcing Loop วงรอบเสริมแรง
B = Balancing Loop วงจรปรับสมดุล
วงรอบเสริมแรงจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
“การเขียนผังเชิงระบบ” (System Diagram/Casual loop)
  1. กำหนด ประเด็นปัญหาหลักให้ชัดเจน (ที่เรื้อรังและเกิดซ้ำ) และสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา – อาการของปัญหา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
  2. ระบุ “ตัวแปรที่สำคัญ” ที่เป็นส่วนทำการขับเคลื่อนความเป็นไปของเหตุการณ์  โดยระบุชื่อให้ชัดเจนใช้คำพูดเป็นกลางหรือที่เป็นบวก
  3. ศึกษาพฤติกรรมโดยมองย้อนเวลาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  4. เขียนกราฟแสดงพฤติกรรมเทียบกับเวลา (BOT)
  5. ทบทวนความสัมพันธ์ของตัวแปร
  6. วาด ผังเชิงระบบ (System diagram)

ตัวอย่าง


Spider Model

Spider Model

การคิดเชิงระบบด้วย SPIDER MODEL 

Spider Model

SPIDERMODEL เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ใน1หน้ากระดาษเพื่อให้เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งพัฒนามาจากBusinessCanvasและLeanCanvasการนำเสนอภายใต้กรอบโมเดลนี้จะทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 1.ProductRisk2.CustomerRisk 3.MarketRisk 4.FinancialRisk รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคเพื่อวิเคราะห์ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้(Feasibility)ภายใต้สถานการณ์ณปัจจุบันมากน้อยเพียงใดอย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุนแต่ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ โมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้วยังครอบคลุมปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วนรวมทั้งช่วยให้เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบSPIDERMODEL
สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ 1.ปัญหาของลูกค้า(Problem) เป็นการคิดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่าCustomerDevelopment)โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไรผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใดได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว 2.ทางออกของปัญหา(Solution) สินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไรเป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาดเพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต 3.คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ(UniqueValueProposition) คุณค่าหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอจะเห็นว่าใช้คำว่าUniqueคือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่งหรือสินค้าเดิมในตลาด 4.กลุ่มเป้าหมาย(TargetCustomer) การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าและบริการของเรา 5.ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย(Channel) วิธีการที่จะนำสินค้าให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้รวมถึงการกระจายสินค้าซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี 6.ทรัพยากรหลักที่มี(KeyResource) ซึ่งเป็นได้ทั้งคนทรัพย์สินทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีและใช้สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจได้หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน 7.กิจกรรมหลักของธุรกิจ(KeyActivities) เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้เกิดUniqueValuePropositionในสินค้าและบริการเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้ 8.กระแสรายได้(RevenueStream) ช่องทางของรายได้ที่เข้ามาให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้จากช่องทางไหนอย่างไรและเท่าไร 9.ต้นทุน(CostStructure) ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไรทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่(FixedCost)และต้นทุนผันแปร(VariableCost) 10.จุดคุ้มทุน(BreakEvent) การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เท่ากับต้นทุนที่ลงไปอาจเป็นจำนวนชิ้นหรือเป็นระยะเวลาเพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้เหมาะสม 11. 4กรอบสุดท้ายคือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจเพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคที่ต้องพบอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง



Spider Model

Spider Model

การคิดเชิงระบบด้วย SPIDER MODEL 

Spider Model

SPIDERMODEL เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ใน1หน้ากระดาษเพื่อให้เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งพัฒนามาจากBusinessCanvasและLeanCanvasการนำเสนอภายใต้กรอบโมเดลนี้จะทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 1.ProductRisk2.CustomerRisk 3.MarketRisk 4.FinancialRisk รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคเพื่อวิเคราะห์ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้(Feasibility)ภายใต้สถานการณ์ณปัจจุบันมากน้อยเพียงใดอย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุนแต่ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ โมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้วยังครอบคลุมปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วนรวมทั้งช่วยให้เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบSPIDERMODEL
สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ 1.ปัญหาของลูกค้า(Problem) เป็นการคิดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่าCustomerDevelopment)โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไรผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใดได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว 2.ทางออกของปัญหา(Solution) สินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไรเป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาดเพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต 3.คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ(UniqueValueProposition) คุณค่าหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอจะเห็นว่าใช้คำว่าUniqueคือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่งหรือสินค้าเดิมในตลาด 4.กลุ่มเป้าหมาย(TargetCustomer) การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าและบริการของเรา 5.ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย(Channel) วิธีการที่จะนำสินค้าให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้รวมถึงการกระจายสินค้าซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี 6.ทรัพยากรหลักที่มี(KeyResource) ซึ่งเป็นได้ทั้งคนทรัพย์สินทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีและใช้สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจได้หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน 7.กิจกรรมหลักของธุรกิจ(KeyActivities) เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้เกิดUniqueValuePropositionในสินค้าและบริการเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้ 8.กระแสรายได้(RevenueStream) ช่องทางของรายได้ที่เข้ามาให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้จากช่องทางไหนอย่างไรและเท่าไร 9.ต้นทุน(CostStructure) ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไรทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่(FixedCost)และต้นทุนผันแปร(VariableCost) 10.จุดคุ้มทุน(BreakEvent) การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เท่ากับต้นทุนที่ลงไปอาจเป็นจำนวนชิ้นหรือเป็นระยะเวลาเพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้เหมาะสม 11. 4กรอบสุดท้ายคือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจเพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคที่ต้องพบอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง


วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือที่ 8 Dynamic Thinking : BOT

     เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลำดับที่ 8 DYNAMIC THINKING : BOT. 

   การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (DRAWING BEHAVIOR OVER TIME GRAPHS)

           กราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง หมายถึง การคิดอย่างเป็นขั้นตอนด้วยแสดงพฤติกรรมของตัวแปรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อมองเห็นทิศทาง แนวโน้ม รูปแบบการเปลี่ยนแปลง นาไปสู่การช่วยคิดสมมติฐานในการหาความสมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 

 องค์ประกอบของกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง

       1. แนวนอนเป็นมิติเวลา คือ สิ่งที่แสดงช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ปี พ.ศ., เดือน ปี, วัน เวลา เป็นต้น
       2. แนวตั้งเป็นมิติปริมาณ คือ สิ่งที่แสดงถึงสาระของประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ๆ
การ


การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)

         1. จุดเริ่มต้น หรือจุดปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น 
         2. จุดก่อนหน้าปัจจุบัน (อดีต) 
         3. จุดปัจจุบัน 
         4. จุดอนาคต (เพื่อการทำนาย)

ตัวอย่าง
กราฟพฤติกรรมมาเรียนสายภายใต้ช่วงเวลา ๑ เดือน (Forest thinking)





         สรุปจากกราฟพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินภายใต้ช่วงเวลา 1 เดือน โดยเกิดจากปัญหาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าหอพัก ค่าเสื้อผ้า ค่าเครื่องใช้ส่วนตัว ค่าอุปกรณ์การเรียน

เครื่องมือที่ 7 IPESA

เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลำดับที่ 7 ปิรามิด IPESA





ความหมายของปิรามิด IPESA

               ปิรามิด IPESA หมายถึง แผนภาพรูปทรงสามเหลี่ยมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของกระบวนการคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยประเด็นในการคิดอย่างเป็นระบบ โดยมี 5 องค์ประกอบตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรก เป็น IPESA ได้แก่
 I = Ideal Situation, P = Present Condition, E = Existing Problems, S=Solution Problems และ A=Aims of Solution

รายละเอียดขององค์ประกอบปิรามิด IPESA

         องค์ประกอบที่ 1 Ideal Situation คือ การเขียนหรือวิเคราะห์สังเคราะห์ความคิดจากสิ่งที่คาดหวัง สภาพที่พึงประสงค์ ของประเด็นนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์จากนโยบาย หรือแผนงานของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า หรือสิ่งที่เกิดจากหน่วยงาน นโยบายรัฐบาล เป็นต้น โดยควรมีการอ้างอิง และระบุแหล่งที่มาของความคาดหวังดังกล่าว

         องค์ประกอบที่ 2 Present Condition คือ สภาพปัจจุบันของสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้น โดยอาจเขียนเป็นลาดับข้อเพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ

         องค์ประกอบที่ 3 Existing Problems คือ สภาพปัญหาของประเด็นที่กาลังเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพปัจจุบันในองค์ประกอบที่ 2

         องค์ประกอบที่ 4 Solution Problems คือ การแก้ไขปัญหา โดยเป็นประเด็นการแก้ไขนั้นต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

         องค์ประกอบที่ 5 Aims of Solution คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ว่าอยากให้เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง

Ex. ตัวอย่างปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน



วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PDCA





 PDCA  คือ วงจรการบริหารงานคุรภาพ  ประกอบด้วย                
P  = Plan  คือ  การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น               
D = Do  คือ  การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง               
C = Check  คือ  การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด               
A = Action    คือ  การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
           1.  Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
            2.  Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
            3.  Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
             4.  Act (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป

  ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้


1.  การวางแผนงานก่อนการปฎิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผนงานควรวางให้ครบ 4 ขั้นดังนี้
(1) ขั้นการศึกษา  คือ  การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน
(2) ขั้นเตรียมงาน คือ  การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ
(3) ขั้นดำเนินงาน คือ  การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย
(4) ขั้นการประเมินผล      คือ  การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากการติชมของลูกค้า เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง
2.  การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3.  การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย
Image result for รูปภาพ PDCA3.1      ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3.2      มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
3.3      มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
3.4      มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
3.5      บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้
4. การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น  วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ


แผนผังต้นไม้



             แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด (ที่อยู่ในรูปของ "บัตรความคิด") คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี "บัตรความคิด" เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน


ข้อดีของแผนผังต้นไม้

1. แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบหรือเป็นตัวกลางในการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งถูกพัฒนาอย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
2. แผนผังทำให้การตกลงภายในสมาชิกกลุ่มสะดวกขึ้น
3. แผนผังนี้จะบ่งชี้และแสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน

  วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้

สาธิตด้วยกรณีการสังเคราะห์ กลยุทธ์ มาตรการ วิธีการ
1. กำหนดหัวข้อ (เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์) ของการระดมสมอง เช่น "จะเพิ่มยอดขายสินค้า A ได้อย่างไร" เขียนไว้ที่ขอบด้านซ้ายตรงระดับกึ่งกลางของกระดาษรองพื้น ขนาดประมาณ A0
2. ระดมสมองโดยใช้เทคนิค "บัตรความคิด" เพื่อให้ได้ วิธีการ มาตรการ หรือกลยุทธ์ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (เพิ่มยอดขาย) ให้ได้จำนวนความคิดให้มากที่สุด
3. รวบรวมหลาย ๆ วิธีการ (ใบ) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง มาตรการ (สาขา) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกมาตรการนั้นเพิ่มเติมลงไป
4. รวบรวมหลาย ๆ มาตรการ (สาขา) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ (ก้าน) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกกลยุทธ์นั้นเพิ่มเติมลงไป
5. รวบรวมหลาย ๆ กลยุทธ์ (ก้าน) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง แนวทาง (กิ่ง) อาจต้องเขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกแนวทางนั้นเพิ่มเติมลงไป
6. จัดเรียงให้มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้ โดยมี เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ หรือ ทิศทาง เป็น (ลำต้น)